กรมพัฒน์แนะ 6 ขั้นตอนจับโกง อ้างบริษัทขายตรง ทำธุรกิจแชร์ลูกโซ่

2024-11-11 HaiPress

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า แนะ 6 วิธี เช็กอย่างละเอียด ป้องกันโดนบริษัทสวมรอย ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อแชร์ลูกโซ่

ปัจจุบันมีผู้เสียหายที่เดือดร้อนจากธุรกิจที่แอบอ้างเป็นธุรกิจขายตรง แต่ที่แท้จริงแล้วเป็นธุรกิจแชร์ลูกโซ่ไม่ได้มีการขายสินค้าจริง และอ้างใช้วิธีการหาเครือข่ายให้เข้าร่วมลงทุนในธุรกิจ รวมถึงบางรายมีการแอบอ้าง ปลอมแปลงหนังสือรับรองการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจและนำไปหลอกลวงประชาชนให้เข้าร่วมลงทุน โดยเสนอผลตอบแทนที่สูงจำนวนมาก

ทั้งนี้ ประชาชนและผู้ประกอบธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากคลังข้อมูลธุรกิจของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่ได้รวบรวมข้อมูลธุรกิจ (นิติบุคคล) ไว้โดยให้บริการฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ โดยสามารถเข้าค้นหารายละเอียดข้อมูลธุรกิจได้จากเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ www.dbd.go.th  จากนั้นเลือกคลิกที่ บริการออนไลน์ และ DBD DataWarehouse+ (คลังข้อมูลธุรกิจ) ค้นหาด้วยชื่อนิติบุคคล หรือ เลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก

ส่วนวิธีการตรวจรายละเอียดธุรกิจที่ต้องการร่วมลงทุน มี 6 ข้อดังนี้

ตรวจสอบความมีตัวตนของธุรกิจว่ามีตัวตนในการดำเนินธุรกิจ โดยดูว่ามีชื่อนิติบุคคลที่เชิญชวนให้ร่วมลงทุนในคลังข้อมูลธุรกิจหรือไม่ตรวจสอบข้อมูลสถานะนิติบุคคล ว่า ยังดำเนินกิจการอยู่หรือเปล่าตรวจสอบรายชื่อกรรมการ ว่าตรงกับข้อมูลธุรกิจที่จะร่วมลงทุนได้ให้ข้อมูลไว้หรือไม่ โดยเฉพาะบุคคลที่มาเชิญชวนให้เข้าร่วมลงทุน แต่กลับไม่มีชื่อเป็นกรรมการ หรือชื่อกรรมการเป็นใครก็ไม่รู้ ประเด็นนี้ควรตั้งข้อสังเกตถึงความน่าเชื่อถือของธุรกิจไว้ก่อนตรวจสอบว่าธุรกิจมีการนำส่งงบการเงินครบทุกปีหรือไม่ ตั้งแต่ปีที่เริ่มประกอบธุรกิจ หากพบว่าธุรกิจไม่เคยนำส่งงบการเงินเลย หรือ ส่งบ้างไม่ส่งบ้าง แสดงว่าธุรกิจดังกล่าวไม่มีความน่าเชื่อถือ โดยงบการเงินเป็นข้อมูลสำคัญ ที่แสดงฐานะการเงินและความเป็นไปของธุรกิจ ให้ผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งลูกหนี้ เจ้าหนี้ และผู้ลงทุน ได้เห็นถึงสถานะของธุรกิจ อีกทั้งการนำส่งงบการเงินเป็นหน้าที่ของนิติบุคคลที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย  ตรวจสอบว่าประเภทธุรกิจตอนที่จดทะเบียนจัดตั้งกับตอนที่นำส่งงบการเงินถูกต้องตรงกันหรือไม่ หากไม่ตรงกันต้องตั้งข้อสังเกตถึงประเภทธุรกิจว่านิติบุคคลนี้ทำธุรกิจประเภทใดกันแน่ควรดูข้อมูลอัตราส่วนทางการเงิน เพื่อให้ทราบถึงสุขภาพทางการเงินของนิติบุคคลในมิติต่างๆ เช่น ความสามารถในการทำกำไร สภาพคล่อง ประสิทธิภาพในการดำเนินงานสินทรัพย์และหนี้สิน มีสัดส่วนอย่างไร

ข้อมูลงบการเงินและข้อมูลอัตราส่วนทางการเงิน กรมฯ ให้บริการจากฐานข้อมูลงบการเงินที่นิติบุคคลนำส่งงบการเงินกับกรมฯ และสามารถเลือกแสดงได้ว่าจะเปรียบเทียบข้อมูลในมิติไหน ระหว่างเปรียบเทียบนิติบุคคลเดียวกัน ในรอบ 5 ปีย้อนหลัง หรือเปรียบเทียบนิติบุคคลนั้นกับนิติบุคคลรายอื่นๆ ที่ประกอบธุรกิจเดียวกัน ขณะเดียวกัน ควรหาข้อมูลอย่างละเอียดรอบคอบก่อนตัดสินใจร่วมลงทุน จึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำและมีความจำเป็นมากที่สุด

ปัจจุบันมิจฉาชีพมีวิธีการหลอกลวงที่มีความแนบเนียนมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้สถานะนิติบุคคลซึ่งมีความน่าเชื่อถือมาหลอกล่อให้ประชาชนหลงเชื่อ และโอนเงินเข้าร่วมลงทุนหรือทำธุรกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใด ก่อนมารู้ทีหลังว่าบัญชีของนิติบุคคลที่โอนเงินไปนั้น เป็น ‘บัญชีม้า’ ของธุรกิจที่ไม่ได้มีการประกอบธุรกิจจริง นำมาซึ่งการสูญเสียทรัพย์สินเงินทองของประชาชน นับเป็นอาชญากรทางเศรษฐกิจที่ทำลายภาคการค้าการลงทุนของประเทศ รวมถึง บั่นทอนกำลังใจผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจจริง ส่งผลให้นักลงทุนที่ต้องการเข้าร่วมลงทุนในธุรกิจเกิดความหวาดระแวงและปฏิเสธการเข้าร่วมลงทุนในอนาคต

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา
©ลิขสิทธิ์2009-2020 วารสารธุรกิจไทย      ติดต่อเรา   SiteMap