จีเอ็มเอ็ม มิวสิค ยื่นขายหุ้นไอพีโอ 228.8 ล้านหุ้น ระดมทุนขยายธุรกิจดนตรีระดับโลก

2024-10-28 HaiPress

บริษัทแม่ แกรมมี่ ดันแกรมมี่มิวสิค ยื่นขายหุ้นไอพีโอครั้งแรก 228.8 ล้านหุ้น หวังขยายงานเพลงระดับโลก พร้อมส่งศิลปินหน้าใหม่เข้าตลาด ชี้เป็นบริษัทเพลงโดยเฉพาะรายเดียวในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไทย

นายภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จีเอ็มเอ็ม มิวสิค เปิดเผยว่า บมจ.จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และหนังสือชี้ชวนต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (ไอพีโอ) โดยจีเอ็มเอ็มมิวศิค GMM Music และบมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ในฐานะผู้ถือหุ้นสามัญเดิมของบริษัทฯ จะเสนอขายหุ้นสามัญรวมจำนวนไม่เกิน 228.8 ล้านหุ้น คิดเป็นไม่เกิน 26% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯ ในครั้งนี้

โดยการระดมทุนของจีเอ็มเอ็ม มิวสิค ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน ชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ขยายกำลังการผลิตผลงานเพลงของกลุ่มบริษัทฯ รวมถึงลงทุนในกิจกรรมร่วมการค้า โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันซ่า จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย

“ หลังจากที่จีเอ็มเอ็ม มิวสิค ได้แยกตัวออกจากบริษัทแม่ เพื่อสร้างความชัดเจนทางธุรกิจสำหรับดำเนินตามแผนระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสร้าง New Music Economy ของไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ล่าสุดจีเอ็มเอ็ม มิวสิค และแกรมมี่ ในฐานะผู้ถือหุ้นสามัญเดิมได้ยื่นไฟลิ่งต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เตรียมเดินหน้าเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นที่เรียบร้อย โดยเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จะออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 80 ล้านหุ้น และ GRAMMY ในฐานะผู้ถือหุ้นสามัญเดิมของบริษัทฯ จะเสนอขายหุ้นสามัญเดิมจำนวนไม่เกิน 148.8 ล้านหุ้น รวมจำนวนรวมไม่เกิน 228.8 ล้านหุ้น คิดเป็น 26% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯ ในครั้งนี้

ทั้งนี้จุดเด่นที่สำคัญของจีเอ็มเอ็ม มิวสิค คือการจะเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจด้านเพลงโดยเฉพาะ (Music Pure Play) เพียงรายเดียวในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ครอบคลุมธุรกิจเพลงแบบครบวงจร ผ่านกลุ่มธุรกิจของบริษัทฯ กว่า 7 กลุ่มธุรกิจ ตั้งแต่การเฟ้นหาพัฒนาศิลปิน การผลิตเพลง การบริหารค่ายเพลง และการทำตลาดทุกช่องทาง โดยมีกลุ่มเรือธงที่สร้างรายได้หลักให้กับบริษัทฯ มาจาก 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ กลุ่มธุรกิจดิจิทัลมิวสิค กลุ่มธุรกิจโชว์บิซ และ กลุ่มธุรกิจบริหารศิลปิน


นายฟ้าใหม่ ดำรงชัยธรรม ประธานเจ้าหน้าที่การตลาด จีเอ็มเอ็ม มิวสิค
กล่าวว่า กลุ่มบริษัทฯ มีผลประกอบการที่แข็งแกร่งและเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มบริษัทฯ มีรายได้รวมเพิ่มขึ้นจาก 1,838.28 ล้านบาทในปี 64 เป็น 3,072.90 ล้านบาทในปี 65 และ 3,912.75 ล้านบาทในปี 66 และมีกำไรสุทธิที่เติบโตอย่างโดดเด่นเช่นกัน จาก 80.16 ล้านบาทในปี 64 เป็น 304.58 ล้านบาทในปี 65 และ 402.81 ล้านบาทในปี 66 โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 67 เรายังคงรักษาการเติบโตที่แข็งแกร่งไว้ได้ โดยมีรายได้ถึง 1,796.18 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 1,719.73 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยผลประกอบการที่แข็งแกร่งนี้ สะท้อนถึงศักยภาพของธุรกิจด้านเพลงโดยเฉพาะ และกลยุทธ์การบริหารจัดการที่ดีของเรา ทำให้มั่นใจว่าจะยังคงรักษาการเติบโตอย่างยั่งยืน สร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับนักลงทุนในอนาคต”โดยวัตถุประสงค์การเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ของจีเอ็มเอ็ม มิวสิค มีดังนี้เพื่อใช้ลงทุนผลิตผลงานเพลงของกลุ่มบริษัทฯ โดยมีแผนที่จะเพิ่มจำนวนเพลงสำหรับส่งลง Music Streaming,เพิ่มศิลปินใหม่ และศิลปินฝึกหัด รวมถึงขยายสเกลของมิวสิค เฟสติวัลให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อใช้ลงทุนในกิจการร่วมค้า ผ่านการขยายขอบเขตความร่วมมือไปยังพันธมิตรใหม่ๆ โดยมุ่งเน้นไปยังพาร์ทเนอร์ที่เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมดนตรีระดับโลกที่มีชื่อเสียง เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และเอื้อให้เกิดรูปแบบความร่วมมือใหม่ๆ ที่จะสร้างความบันเทิงให้กับผู้ชมได้มากยิ่งขึ้นเพื่อชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินของกลุ่มบริษัทฯเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ สำหรับเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน ลดความจำเป็นในการกู้ยืมสถาบันทางการเงิน ทั้งยังเป็นการสร้างแต้มต่อในการคว้าโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ในอนาคต
คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา
©ลิขสิทธิ์2009-2020 วารสารธุรกิจไทย      ติดต่อเรา   SiteMap