สรุปความผิด! โดนเสียภาษีย้อนหลัง มีอายุความเท่าไหร่ เปิดบทลงโทษรุนแรง

2024-09-03 HaiPress

สรุปไม่เสียภาษี จ่ายไม่ครบ ผิดอะไรบ้าง โดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง มีอายุความเท่าไหร่ จ่ายยังไง เปิดบทลงโทษ 4 กรณียื่นภาษีไม่ถูกต้อง โดนปรับ-จำคุกหรือไม่

ช่วงนี้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ โพสต์ข้อความบนโซเชียลมีเดีย ระบุว่า โดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังกันจำนวนมากจากกรมสรรพากร ทำให้หลายคนต่างพากันสงสัยว่า ทำไมถึงโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง เพราะอะไร และเรามีความผิดอะไรบ้างถ้าไม่เสียภาษี ติดต่อจ่ายอย่างไร?

ภาษีย้อนหลัง (Retroactive tax) คือ ผู้ที่มีเงินได้และถึงเกณฑ์เสียภาษี แต่ไม่ได้จ่ายภาษีตามเวลาและอัตราที่กำหนด ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม ทำให้หน่วยงานเก็บภาษีเมื่อตรวจพบจึงเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง

หน่วยงานเก็บภาษีมีใครบ้าง? ได้แก่


1.กรมสรรพากร


2.กรมศุลกากร


3.กรมสรรพสามิต

ในประเด็นนี้เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ กรมสรรพากร ที่มีกลุ่มผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์

โดนเก็บภาษีย้อนหลัง เพราะอะไร?


1.คุณยังไม่ได้จ่ายภาษี


2.คุณจ่ายภาษีไม่ถูกต้อง

ถ้าจ่ายภาษีไม่ถูกต้องจะมีความซับซ้อนกว่า เพราะอาจจะเป็นไปได้หลายกรณี ทั้งการจ่ายภาษีไม่ครบ การระบุรายได้และคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายไม่ถูกต้อง หรือการที่คุณตั้งใจจะหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งไม่ว่าจะเป็นกรณีไหนก็ตาม กรมสรรพากรจะมีวิธีตรวจสอบภาษีย้อนหลังหลายช่องทาง

วิธีตรวจสอบภาษีย้อนหลังของกรมสรรพากร ดังนี้


1.การออกตรวจเยี่ยม คือ การออกไปตรวจเยี่ยมผู้เสียภาษีด้วยตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเจอในกลุ่มผู้ประกอบการทั้งบุคคลและนิติบุคคล


2.การตรวจนับสต๊อกสินค้า ใช้กับผู้ที่ทำธุรกิจการค้าขายทั้งในประเทศและส่งออก ซึ่งการนับสต๊อกสินค้าจะทำให้ทราบว่าผู้ประกอบการได้เสียภาษีครบถ้วนหรือไม่


3.การสอบยันยอดใบกำกับภาษี โดยการทำใบกำกับภาษีปลอม เพื่อขอคืนภาษีและบันทึกค่าใช้จ่าย ดังนั้น กรมสรรพากรจึงใช้วิธีการตรวจสอบภาษีด้วยการสอบยันยอดกับใบกำกับภาษีที่ผู้ขายได้ยื่นไว้เพื่อดูว่ามีการปลอมใบกำกับภาษีหรือไม่ จากนั้นจึงคิดคำนวณภาษีที่ถูกหลีกเลี่ยงไปพร้อมกับเรียกเก็บย้อนหลัง


4.การตรวจสอบการคืนภาษี วิธีนี้จะใช้ตรวจภาษีกับบุคคลธรรมดา และนิติบุคคลที่ขอคืนภาษี ว่ามีการขอคืนภาษีโดยครบถ้วนถูกต้องหรือไม่


5.การตรวจค้น วิธีนี้จะใช้ในกรณีที่สงสัยว่ามีการหลีกเลี่ยงภาษีจำนวนมากและชัดเจน โดยจะเข้าทำการตรวจค้นเพื่อหาหลักฐานเพิ่มเติม พร้อมทั้งยึดและอายัดบัญชีรวมถึงเอกสารต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการหลีกเลี่ยงภาษีไว้ด้วย


6.การออกหมายเรียกตรวจสอบภาษี กรมสรรพากรจะทำการออกหมายเรียกเพื่อตรวจสอบภาษี โดยผู้เสียภาษีจะต้องส่งมอบบัญชีและเอกสารต่างๆ ให้พนักงานทำการตรวจสอบ ซึ่งหากพบว่ามีการหลีกเลี่ยงภาษีก็จะดำเนินการเรียกคืนภาษีย้อนหลังต่อไป

การตรวจสอบภาษีย้อนหลัง มีอายุความเท่าไหร่?

การเรียกเก็บภาษีย้อนหลังของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลนั้น จะมีอายุความตามหมายเรียก ภายใน 2 ปี นับจากวันที่ยื่นภาษี แต่ถ้ามีหลักฐานว่าบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลนั้นจงใจหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีจริงจะสามารถขยายเวลาอายุความออกไปได้ถึง 5 ปีผู้ที่ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเลยและถูกตรวจพบภายหลัง ก็จะมีการเรียกเก็บภาษีย้อนหลังเช่นกัน โดยจะยึดเอาตามระยะเวลาอายุความทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นระยะเวลา 10 ปี

บทลงโทษ ยื่นภาษีไม่ถูกต้อง ไม่ยื่นเสียภาษี?


1.ยื่นแบบภาษีทันกำหนด แต่จ่ายภาษีไม่ครบ มีค่าปรับดังนี้

เสียเบี้ยปรับ 0.5-1 เท่า ของภาษีที่ต้องจ่ายเสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดให้ยื่นแบบจนถึงวันที่จ่ายครบ

2.ไม่ได้ยื่นแบบภาษีภายในกำหนด มีค่าปรับดังนี้

มีโทษปรับทางอาญาสูงสุด 2,000 บาทเสียเบี้ยปรับ 1-2 เท่า ของค่าภาษีที่ต้องจ่ายเสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดให้ยื่นแบบจนถึงวันที่จ่ายครบ

3.เจตนาละเลยไม่ยื่นแบบภาษีภายในกำหนดเพื่อเลี่ยงภาษี มีค่าปรับดังนี้

มีโทษปรับทางอาญาสูงสุด 5,000 บาท จำคุกสูงสุด 6 เดือนเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของค่าภาษีที่ต้องจ่ายเสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดให้ยื่นแบบจนถึงวันที่จ่ายครบ

4.หนีภาษี มีค่าปรับดังนี้

มีโทษปรับทางอาญาตั้งแต่ 2,000-200,000 บาท จำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปีเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของค่าภาษีที่ต้องจ่ายเสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดให้ยื่นแบบจนถึงวันที่จ่ายครบ

ถ้าโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลังขึ้นมา ในกรณีที่คุณผิดจริง ก็ไม่สามารถทำอะไรได้นอกจากไปจ่ายภาษีที่กรมสรรพากร แต่ถ้าคุณไม่ได้มีความผิด สามารถนำหลักฐานต่างๆ ไปเข้าพบกับเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรได้เพื่อตรวจสอบความจริงต่อไป

ที่มา : บริษัท สอบบัญชีธรรมนิติ จำกัด

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา
©ลิขสิทธิ์2009-2020 วารสารธุรกิจไทย      ติดต่อเรา   SiteMap