UNISOC Cat.1bis ขับเคลื่อนความอัจฉริยะของอุตสาหกรรมมาตรวัดไฟฟ้าในอินเดีย

2022-03-07 Writer.Dek-d

การปรากฏขึ้นทั่วโลกอย่างรวดเร็วของ Cat.1bis

ด้วยการใช้งาน 5G เชิงพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้นในหลายประเทศ ทำให้การเลิกใช้งานเครือข่าย 2G/3G เพื่อสนับสนุนการอัปเกรดเป็นเครือข่าย 4G/5G จึงเป็นแนวโน้มที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามในปัจจุบัน และกลายเป็นความเห็นเอกฉันท์ของอุตสาหกรรมทั่วโลก เนื่องจากเทคโนโลยีที่ได้เกณฑ์มาตรฐานอันทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้านสำหรับสิ่งต่อไปในการใช้เทคโนโลยี เช่น อุปกรณ์ IoT (Internet-of-Things) เคลื่อนที่ต่างๆ Cat.1bis จึงค่อยๆ กลายเป็นตัวขับเคลื่อนหลักสำหรับการยกระดับธุรกิจ IoT บนมือถือจาก 2G/3G เป็น 4G และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วทั่วโลก

 

ในปี 2019, UNISOC ได้เปิดตัวชิป LTE Cat.1bis IoT สำหรับแพลตฟอร์ม 8910DM เป็นที่แรกของโลกเพื่อครอบคลุมช่องว่างในการสื่อสารของโทรศัพท์เคลื่อนที่ความเร็วปานกลาง ระหว่างเครือข่ายเชื่อมต่อในระยะทางไกลได้โดยใช้กำลังต่ำ หรือ NarrowBand IoT กับ เครือข่ายบรอดแบนด์ IoT แบบดั้งเดิม Cat.1bis ได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้กำหนดมาตรฐานเทคโนโลยี ขับเคลื่อนการพัฒนาขนาดใหญ่ของอุปกรณ์ Cat.1bis IoT ชนิดความเร็วปานกลาง อีกทั้งยังเปิดตลาดใหม่มูลค่าหลายร้อยล้านเหรียญ ตามรายงานการวิจัยของ Counterpoint นั้น UNISOC กำลังครองตำแหน่งสูงสุดในส่วนแบ่งการตลาด1 ของชิป Cat.1 ทั่วโลก และจากรายงานที่เผยแพร่โดยสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศจีน พบว่า UNISOC ได้รับส่วนแบ่งการตลาด2ของชิป Cat.1 ในประเทศจีนกว่า 70% ซึ่งทำให้กลายเป็นผู้ชนะที่มองไม่เห็นในการควบรวมกิจการผลิตชิปแบบแนวดิ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การขยายธุรกิจไปต่างประเทศ, ก้าวข้ามอุตสาหกรรมมาตรวัดอัจฉริยะ

นอกเหนือจากการเติบโตอย่างมากของตลาดในจีนแล้ว UNISOC ยังได้เริ่มเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนา Cat.1bis ในต่างประเทศตั้งแต่ปี 2019 ปัจจุบันการทดสอบการใช้งานจริงของ 8910DM ได้เสร็จสมบูรณ์แล้วใน 63 ประเทศ ครอบคลุมผู้ให้บริการกว่า 183 ราย และยังคงเพิ่มจำนวนประเทศและผู้ให้บริการทดสอบต่อไปในแถบอเมริกาใต้ UNISOC 8910DM ได้กลายเป็นชิป Cat.1bis IoT เจ้าแรกของโลกที่ได้รับการรับรองจาก ด็อยท์เชอเทเลอค็อม (เยอรมัน) ภายใต้เครือข่ายทั้ง 11 เครือข่าย ทั่วยุโรป ผู้ใช้งานของ UNISOC สามารถใช้งานโปรเจกต์ IoT ขนาดใหญ่ด้วยแพลตฟอร์ม 8910DM ซึ่งจะช่วยเร่งการพาณิชย์ต่างๆในตลาดยุโรป

ปัจจุบันชิป Cat.1bis ของ UNISOC ได้เข้าถึงการใช้งานเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ในตลาดของหลายๆประเทศ ตัวอย่างเช่น การได้รับส่วนแบ่งทางการตลาดมากกว่า 80% ของอุตสาหกรรม3ชิปมาตรวัดอัจฉริยะ Cat.1 ในประเทศอินเดีย โดย UNISOC ได้จับมือกับพันธมิตรอุตสาหกรรมเพื่อเจาะลึกตลาดอินเดีย ร่วมกันสำรวจการพัฒนาเทคโนโลยีมาตรวัดอัจฉริยะรวมทั้งผู้ผลิตชั้นนำในอินเดีย และนำมาซึ่งความสำเร็จในที่สุดจากเทคโนโลยี LTE Cat.1bis ซึ่งสามารถผลิตได้ในระดับมหัพภาค ทำให้ครอบครัวหลายล้านครอบครัวในอินเดีย ได้รับประโยชน์และประสบการณ์การใช้ไฟฟ้าระบบดิจิตอลอย่างชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพ ในวงกว้าง สิ่งนี้จะช่วยเสริมการยอมรับต่อความสมบูรณ์แบบและการใช้งานของเทคโนโลยี Cat.1bis ของ UNISOC อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมการใช้งานแบบคลาสสิคเชิงพาณิชย์ระดับมหัพภาคในด้านอื่นๆ เช่น การแบ่งปันเชิงเศรษฐกิจ, การชำระเงิน, การเดินทางที่ใช้คาร์บอนต่ำ, อินเตอร์คอมเครือข่ายสาธารณะ, พลังงานทดแทนและการควบคุมอุตสาหกรรม

นอกเหนือจากตลาด IoT ในประเทศอินเดียแล้ว Cat.1bis ยังแสดงให้เห็นถึงศักยภาพการเติบโตอย่างยอดเยี่ยมในตลาดอีกหลายๆประเทศ UNISOC ได้พัฒนาเทคโนโลยี Cat.1bis อย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดเป้าหมายไปยังความต้องการใหม่ๆของตลาด IoT ทั่วโลกรวมทั้งการใช้งานของ Cat.1bis ต่อไป เราตั้งหน้าตั้งรอที่จะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างเข้มข้นรวมถึงการใช้งานคุณสมบัติ eDRX/PSM, การครอบคลุมที่เพิ่มขึ้น, การรวมตำแหน่ง, การควบรวมที่สูงขึ้น, ความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยที่มากขึ้น, และคุณสมบัติการทำงานในขอบอุณหภูมิที่กว้างขึ้น ซึ่งจะขยายขอบเขตการสนับสนุนต่อเทคโนโลยีอัจฉริยะในอุปกรณ์ IoT ทั่วโลก

     1. แหล่งที่มา: Global Cellular IoT Module Shipments Grow 70% YoY in Q3 2021

https://www.counterpointresearch.com/global-cellular-iot-module-shipments-q3-2021/

     2. แหล่งที่มา: http://www.ccidnet.com/2022/0121/10580959.shtml

     3. ข้อมูลจากการวิเคราะห์และประเมินภายในของ UNISOC

บริษัท: UNISOC Technologies Co., Ltd

เว็บไซต์: www.unisoc.com

ติดต่อ: คุณ Crystal Tang 唐玥颖, ทีม PR

อี-เมล: yueying.tang@unisoc.com

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา
©ลิขสิทธิ์2009-2020 วารสารธุรกิจไทย      ติดต่อเรา   SiteMap